CIPHER ไซเฟอร์ ฉบับพิมพ์แรก วิบูลย์กิจ เล่ม 1 - 12 (จบ)

หน้าแรก » หนังสือ และ ดนตรี » การ์ตูน

CIPHER ไซเฟอร์ ฉบับพิมพ์แรก วิบูลย์กิจ เล่ม 1 - 12 (จบ)

แบ่งปันให้เพื่อน

 CIPHER  ไซเฟอร์ ฉบับพิมพ์แรก วิบูลย์กิจ  เล่ม 1 - 12(จบ)  แนว             : รักโรแมนติก  ผู้แต่ง           : MINAKO NARITA สำนักพิมพ์    : วิบูลย์กิจ คอมมิกส์/ HAKUSENSHA INC.(1984) ตีพิมพ์เมื่อ    : 2528 - 2533 ราคาปก       : 300  บาท จำนวนเล่ม    : 12 เล่ม การันตีสภาพ:หนังสือสะสมสภาพดีทุกเล่ม ไม่ช้ำ สม่ำเสมอ  ประมาณ 85  %  หมายเหตุ         :กรณีไม่ติดต่อกลับ/ชำระเงินภายใน 7 วัน  โดยไม่แจ้งเหตุผล ขออนุญาตนำสินค้าลงขายใหม่  และให้ Comment  ลบนะครับ  จากALIEN STREET สู่ CIPHER ก่อนต่อไปยัง ALEXANDRITE และ NATURAL ผลงานทุกเรื่องของอาจารย์ MINAKO NARITA เปี่ยมไปด้วยแนวคิดในทางจิตวิทยาที่สร้างพลังทางบวกให้กับโลก ตัวละครทุกตัวมีชีวิตชีวาและความรู้สึกนึกคิดตามวิถีแห่งปุถุชนที่มีทั้งร้ายและดี มีทั้งเวลาที่หลงผิดและเวลาที่เกลียดชังตัวเองเช่นเดียวกับมนุษย์ทั่วไป ทำให้ผู้อ่านรู้สึกเหมือนกับตัวละครเหล่านี้เป็นเพื่อน ติดตามสถานการณ์ เฝ้ามองการเปลี่ยนแปลง และได้เรียนรู้ความจริงของชีวิตไปพร้อม ๆ กับพวกเขา หากคุณเริ่มอ่านการ์ตูนเรื่องนี้ตั้งแต่ลงในนิตยสารครั้งแรกต่อเนื่องกันทุกสัปดาห์ คุณอาจรู้สึกว่าคุณได้เติบโตไปพร้อม ๆ กับพวกเขาเหมือนที่เคยรู้สึกกับตัวละครในหนังสือเรียนสมัยประถมก็ได้   CIPHER ตีพิมพ์เป็นครั้งแรกที่ญี่ปุ่นในปี 1984 ผ่านมา 23 ปีแล้ว แต่ไซเฟอร์และศิวะไม่เคยแก่ เรื่องราวของพวกเขาไม่เคยล้าสมัย และไม่มีคนอ่านคนไหนที่เคยหลงรักเรื่องนี้สามารถลืมเลือน หากคุณไม่เคยสัมผัสกับ CIPHER มาก่อน เราขอแนะนำให้คุณลองอ่าน และถ้าคุณเคยอ่านแล้ว เราอยากให้คุณหยิบมันมาอ่านอีก เพื่อรำลึกถึงเพื่อนเก่า ถึงความรู้สึกที่คุณอาจจะลืมเลือนไป บางทีเมื่ออ่านจบแล้ว คุณอาจจะอยากมอบช่อดอกไม้ให้แก่โลกทั้งโลกเหมือนกับที่ศิวะเคยรู้สึกก็เป็นได้  โครงเรื่อง  CIPHER เป็นเรื่องราวของเจคกับรอย หรือที่รู้จักกันในนามศิวะกับไซเฟอร์ นายแบบและนักแสดงฝาแฝดชื่อดังที่ประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังไม่ครบขวบ เรื่องราวทั้งหมดเริ่มต้นขึ้นเมื่อ เอนิส เมอร์ฟีย์ เด็กสาวซึ่งเป็นเพื่อนร่วมโรงเรียนของศิวะเกิดจับได้ว่า ‘ศิวะ’ ที่ทุกคนรู้จักนั้น ไม่ได้มีแค่คนเดียว แต่ทั้งเจคและรอยได้สลับกันแสดงบทบาทเป็น ‘ศิวะ’ คนละวัน ผลัดกันทำทุกอย่างตั้งแต่เรื่องงาน เรื่องเรียน การเข้าสังคมและการคบหาสมาคมกับเพื่อน ๆ ติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนานกว่าสองปี การท้าทายตามมาเมื่อ     เอนิสผู้อยากเป็นเพื่อนกับศิวะร้องขอเหตุผล ฝาแฝดรับปากจะเล่าเรื่องทุกอย่างให้เธอฟังและยอมให้เธอเอาเรื่องนี้ไปบอกใคร ๆ ก็ได้ตามใจ ถ้าเธอสามารถแยกความแตกต่างระหว่างเขาสองคนได้ภายในสองสัปดาห์ แต่ถ้าทำไม่ได้ เธอต้องเก็บเรื่องนี้เป็นความลับและห้ามถามเหตุผลอีกเด็ดขาด เอนิสยอมรับคำท้า เธอเก็บข้าวเก็บของย้ายเข้ามาอยู่ในอพาร์ทเมนต์ของสองหนุ่ม ตั้งหน้าตั้งตาหาความแตกต่างระหว่างแฝดทั้งสองไปพร้อม ๆ กับเรียนรู้ความหมายของความเป็นเพื่อน ความทรงจำ และความรักไปในเวลาเดียวกัน สิ่งที่โดดเด่นที่สุดในเรื่อง CIPHER คือประเด็นเกี่ยวกับความรักและความทรงจำ ในชีวิตของศิวะและไซเฟอร์ ความสูญเสียที่รุนแรงและมีอิทธิพลต่อชีวิตของเขาทั้งสองมีอยู่สองครั้ง ครั้งแรกคือการสูญเสียพ่อตอนอายุสิบห้า และครั้งที่สองคือการสูญเสียดีน่า แจ็คสัน บาดแผลครั้งแรกกรีดลงที่ไซเฟอร์ และครั้งที่สองที่ศิวะ พ่อที่จับได้ว่าแม่นอกใจ ได้พาไซเฟอร์ออกจากบ้านไปปีนเขาหลังจากทะเลาะกับแม่อย่างรุนแรง ก่อนจะประสบอุบัติเหตุจนเสียชีวิต ทั้งสองซึ่งรังเกียจที่จะอยู่ร่วมบ้านกับแม่ผู้ทรยศและเป็นต้นเหตุให้พ่อตาย จึงแยกออกมาอยู่กันตามลำพัง และเป็นจุดเริ่มต้นเหตุการณ์ที่ทำให้ทั้งสองเล่นบทบาทเดียวกันในเวลาต่อมา ส่วนดีน่า แจ็คสัน เป็นผู้หญิงที่ศิวะรัก เขาตั้งใจจะบอกความรู้สึกของตัวเองและเล่าความจริงทุกอย่างเกี่ยวกับการสลับบทบาทของเขากับไซเฟอร์ให้เธอฟังหลังจากงานแสดงที่เธอเล่นร่วมกับไซเฟอร์จบสิ้นลง แต่วันนั้นไม่มีวันมาถึง เพราะเธอได้ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตไปก่อนการถ่ายทำจะเสร็จสิ้น ศิวะโทษว่าไซเฟอร์เป็นต้นเหตุ และทั้งสองคนก็แยกทางกันตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ทั้งศิวะและไซเฟอร์ทนทุกข์ทรมานกับความสูญเสียที่กรีดลึกลงในจิตใจของตนเอง      ไซเฟอร์เก็บเหตุการณ์ในคืนที่เขาพยายามห้ามไม่ให้พ่อออกไปจากเชลเตอร์ขณะที่พายุกำลังตั้งเค้ามาฝันซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่หลายปี และศิวะก็เสียใจอยู่ตลอดเวลาที่ไม่มีโอกาสได้บอกความในใจของตนเองให้ดีน่าได้รู้ ทั้งสองคนต่างคิดว่า พวกเขาทำในสิ่งที่ผิดพลาดอย่างไม่น่าให้อภัย และไม่มีทางที่จะย้อนกลับไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงมันได้อีกแล้ว แต่ในท้ายที่สุด ทั้งสองคนก็ได้เรียนรู้ ทั้งจากความหวังดีของเพื่อนแท้ที่หยิบยื่นความเข้าใจให้ และจากประสบการณ์ที่เข้ามาในชีวิตว่า ในโลกนี้ไม่มีอะไรหรอกที่จะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แน่นอน เหตุการณ์ที่ผ่านไปแล้ว อาจไม่เปลี่ยนแปลง แต่ความรู้สึกของคนเราสามารถเปลี่ยนไปได้เรื่อย ๆ ความสูญเสียเมื่อผ่านพ้นไปแล้ว ความเจ็บปวด ความผิดบาป ความโกรธ และการกล่าวโทษที่เกาะกินหัวใจคนที่ยังอยู่จะค่อย ๆ ถูกกาลเวลาชำระล้างไปทีละน้อย จนในที่สุดก็เหลือเพียงความรักเท่านั้นที่จะคงอยู่ในความทรงจำ มนุษย์ก็ยังเป็นเพียงมนุษย์ ไม่มีใครล่วงรู้อนาคต ไม่มีใครสามารถย้อนกลับไปแก้ไขความผิดพลาดที่ตนเคยกระทำ แต่ตราบเท่าที่ยังมีชีวิตอยู่ ความทรงจำก็ยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เพราะฉะนั้นเราจึงควรสร้างความทรงจำดี ๆ กับคนที่ยังมีชีวิตอยู่ทุกโอกาสที่สามารถกระทำได้ และไซเฟอร์กับศิวะก็เริ่มต้นมันด้วยการให้อภัย อีกหนึ่งแนวความคิดที่ฉันชอบจากการ์ตูนเรื่องนี้คือที่มาของชื่อที่ใช้ในการแสดงของเจคกับรอย ศิวะกับไซเฟอร์เป็นชื่อที่ย่าของทั้งสองคนตั้งให้ ศิวะคือชื่อของเทพแห่งการสร้างสรรค์และทำลายของฮินดู ส่วนไซเฟอร์คือศูนย์ ทั้งสองชื่อมีความหมายเหมือนกัน นั่นคือจุดเริ่มต้น เป็นปรัชญาที่ย่าต้องการปลูกฝังติดตัวเด็กน้อยทั้งสอง ไม่ว่าจะอยู่จุดไหนของชีวิต สูงหรือต่ำเพียงใด หากรำลึกอยู่ตลอดเวลาว่า ณ จุดที่เราอยู่นี้คือจุดเริ่มต้น จะไม่มีคำว่าท้อแท้ หยิ่งผยอง หรือหวาดกลัวต่อการเปลี่ยนแปลง เสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของ CIPHER ก็คือบรรยากาศของเรื่อง ผู้เขียนสามารถถ่ายทอดสภาพแวดล้อมที่ตัวละครอยู่อาศัยได้อย่างน่าทึ่งจนผู้อ่านเห็นภาพเหมือนได้ไปเดินอยู่ในสถานที่นั้นด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นด้านสว่างอย่างสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ในนิวยอร์กที่ไซเฟอร์พาเอนิสไปเที่ยวในวันอีสเตอร์ หรือด้านมืดอย่างอเวนิว เอ แห่งซ่องสุมโซนอันตรายที่แฝดทั้งสองพักอาศัย แสงแดดแผดกล้าของลอสแอนเจลิสที่ศิวะกับไซเฟอร์ย้ายนิวาสถานไปอยู่ชั่วคราวช่วงปิดเทอมด้วยเรื่องงาน ทำให้คนอ่านรู้สึกว่าสบายสายตาขึ้นเยอะเมื่อทั้งคู่กลับมาสู่ความมืดทึมของแมนฮัตตันที่คุ้นเคยเหมือนกับเป็นคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองใหญ่มานาน โบสถ์เซนต์แพทริก เอมไพร์สเตท สวนสาธารณะเซนทรัลพาร์ค เทพีเสรีภาพ ท่าเรือเซาธ์เฟอร์รี่ และเวิลด์เทรดเซนเตอร์ คนเขียนโน้มน้าวให้คนอ่านรู้สึกว่าแฝดทั้งสองมีความผูกพันกับทุกสิ่งทุกอย่างที่ถูกก่อร่างสร้างขึ้นมาในนิวยอร์กอย่างที่เด็กนิวยอร์กคนหนึ่งพึงเป็นได้โดยไม่มีข้อกังขา นั่นเป็นสาเหตุให้ไซเฟอร์บอกกับเอนิสตอนที่ไปเดทกันในวันอีสเตอร์ว่า ชื่อจริงของเวิลด์เทรดเซนเตอร์คือเจคกับรอย เพราะมันเป็นฝาแฝดแห่งนิวยอร์กที่มีคนรู้จักมากที่สุดเหมือนกับพวกเขา ฉากเล็ก ๆ ฉากนี้เองที่ทำให้เวิลด์เทรดเซนเตอร์กลายเป็นสัญลักษณ์ของการ์ตูนเรื่องนี้ไปในที่สุด by Carousal First Published : คอลัมน์การ์ตูนเล่มกรี๊ด นิตยสารไอน้ำ  


ราคา: 600 บาทต้องการ: ขาย
ติดต่อ: cherdbhun teaipaibull  อีเมล์: 
สภาพ: มือสอง จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โทรศัพย์: 
มือถือ: 086-3451883
ที่อยู่: 68/4 หมู่ 5 ถ. เชื่อมสัมพันธ์ แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กทม. 10530 



ดูสินค้าอื่นๆ | ลงประกาศ | เลื่อนประกาศขึ้น | ลบประกาศ | แก้ไขประกาศ

[ รับจำนอง ขายฝาก บ้าน ที่ดิน ทั่วประเทศ กู้เงินง่าย ได้เงินไว ไม่เช็คแบล็คลิส ]





ประกาศอื่นๆในหมวดหมู่เดียวกัน 20 รายการ (แสดงทั้งหมด)

รูป   รายละเอียด ราคา
  3,000 บาท
  100 บาท
  20 บาท
  350 บาท
  28 บาท
  350 บาท
  800 บาท
  19000-22000
  600 บาท
  355 บาท
  ลด35-50%
  860 บาท
  60 บาท
  ราคาดีมากๆ
  300 บาท
  ไม่ระบุราคา
  85,000
  10-1000
  140(ลด30%)
  ไม่ระบุราคา